วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

ระบบคลังข้อสอบ และการสอบออนไลน์ กรณีศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี

1. ชื่อโครงการ
ระบบคลังข้อสอบ และการสอบออนไลน์
กรณีศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี

2. หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น การให้บริการด้านการศึกษาในปัจจุบันก็จำเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่ออำนวยความสะดวก
ระบบคลังข้อสอบ และการสอบออนไลน์ เป็นอีกระบบหนึ่งที่ประยุกต์เอาเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในด้านการวัดผลการศึกษาให้มีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องเที่ยงตรง อีกทั้งยังเป็นวิธีการในการพัฒนาตัวข้อสอบให้ได้มาตรฐาน จัดเก็บในรูปแบบของฐานข้อมูล แบ่งหมวดหมู่ของแต่ละวิชา แต่ละจุดประสงค์ และยังสามารถแทรกสื่อต่างๆ เช่น ภาพ เสียง และวีดีโอ ลงในข้อสอบได้อีกด้วย เป็นการ มุ่งพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำเว็บและเข้าถึงฐานข้อมูล ระบบจะอำนวยความสะดวกในการเพิ่ม แก้ไขและลบข้อมูล รวมถึงการส่งผ่านข้อมูลการทำข้อสอบของนักศึกษา เข้าไปประมวลผลผ่าน เครือข่าย ซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ ทั้งในแง่เวลา และทรัพยากรอื่นๆ อาทิ เช่น กระดาษ ค่าจัดพิมพ์ แรงงาน หรือแม้แต่พื้นที่จัดเก็บ นอกจากนี้ยังสามารถสรุปผลคะแนนการสอบของแต่ละวิชา ออกมาได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งทำให้ลดขั้นตอนการทำงานลงได้ ทำให้เกิดความประหยัด รวดเร็วและสะดวก ในการออกข้อสอบ จัดเก็บข้อสอบ เข้าสอบและวัดผลการสอบมากยิ่งขึ้น
เนื่องจากในการออกข้อสอบในแต่ละรายวิชาต่างๆ อาจารย์จะเป็นผู้ออกข้อสอบขึ้นใหม่ในทุกๆ ภาคการศึกษา ซึ่งในการออกข้อสอบแบบเดิมนั้น อาจารย์จะเป็นผู้ออกข้อสอบโดยพิมพ์ข้อสอบและสร้างรูปแบบข้อสอบด้วยตนเอง เมื่อต้องการออกข้อสอบหลายๆ บทเรียนโดยให้มีจำนวนข้อในแต่ละบทเรียนที่เหมาะสมกับจำนวนข้อสอบที่ต้องการออกนั้น ซึ่งบางเนื้อหาที่เคยออกข้อสอบในปีก่อนนั้นยังสามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับปีปัจจุบันได้ จึงเป็นการคาดคะเนได้ยากหากอาจารย์ได้พิมพ์ข้อสอบบทแรกๆ เกินสัดส่วนจำนวนข้อไปแล้ว ทำให้อาจารย์ต้องมาลบข้อสอบเดิมแล้วมาจัดการกับข้อสอบบทหลังเพื่อให้เฉลี่ยจำนวนข้อสอบในแต่ละบทให้เหมาะสมหรือต้องทำการจัดเรียงเลขลำดับข้อสอบใหม่ หรือถ้าต้องการสร้างข้อสอบโดยมีทั้งข้อเก่าและข้อใหม่ที่ต้องการเพิ่มเข้าไปทำให้จัดการลำบาก
ระบบคลังข้อสอบ และการสอบออนไลน์ จะสามารถแก้ปัญหาการออกข้อสอบและการสอบในแบบเดิม โดยจะสามารถจัดการกับการออกข้อสอบและการสอบผ่านทางคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้อาจารย์สามารถเลือกรูปแบบในการจัดทำข้อสอบและเลือกข้อสอบมาสร้างใหม่ได้ตามความต้องการ สามารถจัดการข้อสอบและการสอบในรูปแบบออนไลน์ได้ ทำให้เพิ่มความปลอดภัยของไฟล์ข้อสอบได้มากยิ่งขึ้น ระบบนี้จะอำนวยความสะดวกให้แก่อาจารย์ในการออกข้อสอบแบบออนไลน์ ทำให้คุณภาพของการออกข้อสอบมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถทำให้การตรวจเฉลยข้อสอบได้รวดเร็วและถูกต้อง อีกทั้งอาจารย์สามารถให้นักศึกษาสอบแบบออนไลน์ได้ เมื่อทำการสอบระบบจะทำการจับเวลาในการสอบและประมวลผลคะแนนได้ทันทีเมื่อสอบเสร็จ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการสอบทั้งนักศึกษาและอาจารย์ได้ และยังช่วยลดการใช้กระดาษ เนื่องจากสอบผ่านคอมพิวเตอร์ไม่ต้องพิมพ์ข้อสอบออกมา และนักศึกษายังสามารถดูผลสอบผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้

3. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อพัฒนาระบบคลังข้อสอบ และการสอบออนไลน์ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3.2 เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานการออกข้อสอบแบบเดิม ให้มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
ง่ายต่อการค้นหา และลดการใช้ทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะกระดาษ
3.3 เพื่อช่วยลดภาระของอาจารย์ผู้สอน
3.4 เพื่อลดการทุจริตในการทำข้อสอบ เนื่องจากระบบสามารถสุ่มข้อสอบได้ ทั้งสุ่ม
แบบซ้ำ หรือสุ่มแบบ ไม่ซ้ำ
3.5 เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ในด้านการเรียนการสอนและการประเมินผล
3.6 เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนให้มากขึ้น

4. เป้าหมาย
เพื่อจัดให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพ มีความสะดวกรวดเร็ว มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ลดภาระของอาจารย์ผู้สอน เปลี่ยนการออกข้อสอบ และการจัดสอบ จากกระดาษมาเป็น ระบบคลังข้อสอบ และการสอบออนไลน์ ผ่านทางเครือข่าย เพื่อการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้องและเที่ยงตรง

5. วิธีดำเนินงานหรือแผนงานย่อยหรือกิจกรรมย่อย
5.1 นำเสนอหัวข้อต่ออาจารย์ที่ปรึกษา (ศึกษาทฤษฏีและเทคโนโลยีที่ใช้)
5.1.1 นำเสนอหัวข้อเรื่องระบบคลังข้อสอบ และการสอบออนไลน์
5.2 ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล
5.2.1 ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เช่น
รูปแบบและหลักการการสร้างข้อสอบแบบต่าง ๆ
5.2.2 จดบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
5.2.3 รวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและทำการจัดเก็บข้อมูล
5.3 วิเคราะห์ข้อมูล
5.3.1 ศึกษาปัญหาและทำความเข้าใจกับระบบเดิม
5.3.2 นำข้อมูลที่รวบรวมแล้วมาทำการวิเคราะห์
5.3.3 สร้างแบบจำลอง Logical Model ประกอบ ด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล(Data Flow
Diagram) คำอธิบายการประมวลผลข้อมูล(Process Description) แบบจำลองข้อมูล
(ER-diagram)
5.3.4 สร้างพจนานุกรมฐานข้อมูล (Data Dictionary)
5.3.5 ศึกษาโปรแกรมที่จะใช้งาน
5.3.6 นำผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์มาออกแบบระบบ
5.4 ออกแบบระบบ
5.4.1 ออกแบบฐานข้อมูล (Database Design)
5.4.2 ออกแบบหน้าจอการใช้งาน (User Interface)
5.4.3 ออกแบบรายงาน(Output Design)
5.5 พัฒนาระบบ
5.5.1 เขียนโปรแกรมพัฒนาระบบ
5.6 ทดสอบและปรับปรุงแก้ไขระบบ
5.6.1 ทดสอบระบบ
5.6.2 ปรับปรุงแก้ไขระบบ
5.6.3 ติดตั้งระบบ
5.7 นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ
5.8 จัดทำเอกสาร
5.8.1 คู่มือสำหรับผู้ใช้งานระบบ
5.8.2 คู่มือติดตั้งระบบ
5.8.3 คู่มือประกอบการใช้งานระบบ

6. ระยะเวลาการดำเนินการ



7. สถานที่หรือพื้นที่ดำเนินการ
วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี

8. งบประมาณ

9. ผู้รับผิดชอบโครงการหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ
นายภัทรชนม์ ไชยกุล
นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


10. การติดตามและประเมินผล
10.1 ผู้ใช้งานระบบ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจในการใช้งาน ระบบคลังข้อสอบ
และการสอบออนไลน์ ในระดับดี
10.2 ผู้ใช้งานระบบ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจในการใช้งาน ระบบคลังข้อสอบ
และการสอบออนไลน์ในระดับดี

11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
11.1 สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการศึกษา จากระบบคลังข้อสอบ และการสอบออนไลน์
11.2 มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถค้นหาข้อมูลได้ง่าย และรวดเร็ว
11.3 ลดภาระของอาจารย์ผู้สอน
11.4 สามารถลดการทุจริตในการสอบ
11.5 การประเมินผลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และได้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

ทำไมเราจะต้องบริหารโครงการ

ทำไมเราจะต้องบริหารโครงการ แล้วโครงการมีความสำคัญอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการ ICT เราให้ความสำคัญเพราะอะไร


การบริหารโครงการ (project management) เป็นการวางแผนและการบริหารทรัพยากรใดๆทั้งตัวมนุษย์และในเรื่องของงาน โดยคาดคะเนทิศทางของโครงการตั้งแต่ วันเริ่มต้นจนถึงวันเสร็จงาน รวมถึงการกำหนดช่วงเวลาในการปฏิบัติงานที่จะทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพ และสามารถที่จะประมาณราคาของโครงการได้
การบริหารโครงการมีหัวใจสำคัญคือการบริหารความสัมพันธ์ระหว่าง เวลา ราคา และคุณภาพ ในทรัพยากรที่กำหนดเพื่อให้ได้เป้าหมายตามต้องการ การบริหารโครงการเป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้าง และการพัฒนาซอฟต์แวร์
ขั้นตอนและกระบวนการบริหารโครงการ
1.การกำหนดโครงการ
2.การจัดเตรียมโครงการ
3.การประเมินโครงการและการอนุมัติโครงการ
4.การนำโครงการไปปฏิบัติ
5.การประเมินผลโครงการ
โดยเฉพาะการนำการบริหารโครงการไปใช้กับโครงการด้าน ICT เพราะ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันทุกวันนี้อย่างยิ่ง เมื่อมีการนำการบริหารโครงการมาใช้ จึงทำให้โครงการด้าน ICT มีประสิทธิภาพในด้าน เวลา ราคา และคุณภาพมากขึ้น