วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

เส้นทางวิกฤติ Critical Path มีประโยชน์อย่างไรในการบริหารโครงการ

เส้นทางวิกฤติ Critical Path มีประโยชน์อย่างไรในการบริหารโครงการถ้าหากมีเส้นทางวิกฤตหลายๆ เส้นเราจะทำอย่างไร

เส้นทางวิกฤติ (Critical Path) คือ เส้นทางที่ใช้เวลายาวที่สุด หากมีการล่าช้า ของกิจกรรมใด ในเส้นทางวิกฤต จะทำให้โครงการล่าช้าไม่เสร็จตามกำหนด ดังนั้น ถ้าผู้บริหารรู้เส้นทางวิกฤติ จะทำให้ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ในการวางแผนตัดสินใจเพื่อควบคุมโครงการ หรือเร่งรัดโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถประมาณการในการจัดทำงบประมาณ กำหนดการปฏิบัติงาน และวิธีการต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานเพื่อให้โครงการเสร็จตามกำหนดเวลาและบรรลุวัตถุประสงค์อย่างดี

ในกรณีที่โครงการมีเส้นทางวิกฤติหลายๆ เส้น ก่อนการเร่งรัดโครงการผู้บริหารควรพิจราณาถึงต้นทุน แรงงาน และทรัพยากรต่าง ๆ ในการเร่งรัดโครงการ ผู้บริหารควรเลือกที่จะเร่งรัดโครงการที่ได้รับผลประโยชน์จากการเร่งรัดโครงการที่มีค่าสูงกว่าต้นทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งผลประโยชน์จากการเร่งรัดโครงการให้เสร็จเร็วขึ้น อาจอยู่ในลักษณะของเงินชดเชยหรือรางวัลที่ได้ ถ้าสามารถทำให้โครงการเสร็จเร็วกว่ากำหนด หรือการที่ไม่ต้องเสียค่าปรับเนื่องจากสามารถเร่งรัดโครงการให้แล้วเสร็จตามกำหนด หรือการลดค่าใช้จ่ายเพื่อการดำเนินการโครงการเนื่องจากโครงการเสร็จเร็วขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น