วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ผังข่ายงานมี 2 ประเภท คือ AOA และ AON มีประโยชน์อย่างไรบ้าง และประเภทใดที่ท่านคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ที่สุด เพราะอะไร

ผังข่ายงานมี 2 ประเภท คือ AOA และ AON มีประโยชน์อย่างไรบ้าง และประเภทใดที่ท่านคิดว่าน่าจะมีประโยชน์ที่สุด เพราะอะไร

- AOA และ AON เป็นแผนภาพแสดงกิจกรรมของโครงการที่เชื่อมโยงกันในลักษณะของเครือข่าย (ข่ายงาน) ทำให้ทราบว่าจะต้องดำเนินกิจกรรมใดให้เสร็จสิ้นก่อนกิจกรรมถัดไป ผังข่างานทั้ง 2 ประเภท จะแตกต่างกันตรง AOA จะแสดงแต่ละกิจกรรมแทนด้วยเส้นลูกศรและเชื่อมโยงกันด้วยวงกลม (เรียกว่า โหนด) ส่วน AON จะแสดงกิจกรรมบน โหนดที่เป็นรูปวงกลมหรือสี่เหลี่ยม เพื่อบอกให้ทราบถึงจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของแต่ละกิจกรรม

- ประเภทที่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ที่สุด คือ ประเภท AON (Activity on the Node) เพราะตัวแบบข่ายงานประเภทนี้จะทำให้ภาพดูเข้าใจง่าย เนื่องจากชื่อของกิจกรรมและเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมจะแสดงอยู่บนโหนด ทำให้ดูเข้าใจง่ายว่าโหนดนี้ชื่ออะไร ใช้เวลาในการทำกิจกรรมเท่าไหร่ โหนดต่อไปคือโหนดอะไร ซึ่งจะแตกต่างกับตัวแบบข่ายงานประเภท AOA ที่ ชื่อของกิจกรรมและเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรมจะแสดงอยู่ลูกศร ทำให้ภาพที่ออกมาจะเข้าใจ

ได้ยากกว่า ตัวแบบข่ายงานประเภท AON

ทำไมเราจะต้องหาค่าความน่าจะเป็นของโครงการที่จะแล้วสร็จ มีประโยชน์อย่างไรต่อการบริหารโครงการระบบสารสนเทศ

ทำไมเราจะต้องหาค่าความน่าจะเป็นของโครงการที่จะแล้วสร็จมีประโยชน์อย่างไรต่อการบริหารโครงการระบบสารสนเทศ
       1. ช่วยในการวิเคราะห์เวลาและการดำเนินการควบคุมและการวางแผนการทำงาน ของโครงการ
       2. ช่วยให้ผู้บริหารทุกระดับต้องทำการวางแผนในงานหรือกิจกรรมที่ต้องรับผิดชอบ
       3. ช่วยให้เป็นที่สนใจพิเศษกับปัจจัยและองค์ประกอบของงานที่ต้องปรับปรุงและแก้ไข
       4. ช่วยทำให้มีการควบคุมงานล่วงหน้าเพราะความล่าช้าที่เกิดขึ้นจะมีผลต่อความสำเร็จของโครงการทั้งหมดตลอดจนการวางแผนปฏิบัติงานในอนาคต
       5. ช่วยทำให้สามารถปฏิบัติงานได้ตรงจุดหมายทันตามเวลาและเหมาะสมกับ
ลักษณะโครงสร้างของหน่วยงาน

การเขียนโครงการส่วนประกอบที่สำคัญและที่คิดว่าจะทำให้เราได้รับการอนุมัติให้จัดทำโครงการน่าจะเป็นส่วนไหน

การเขียนโครงการส่วนประกอบที่สำคัญและที่คิดว่าจะทำให้เราได้รับการอนุมัติให้จัดทำโครงการน่าจะเป็นส่วนไหน
                     ในการเขียนโครงการ การกำหนดวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ ถือเป็นหัวใจสำคัญของโครงการเพราะเป็น ส่วนที่กำหนดว่าสิ่งที่ต้องทำโครงการนั้นคืออะไรบ้าง หลังจากสิ้นสุดโครงการแล้วจะเกิดผลอะไรบ้าง เป้าหมายของโครงการทั้งในเชิงปริมาณหรือคุณภาพคืออะไร การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการอาจกำหนดเป็นวัตถุประสงค์ทั่วไปและวัตถุประสงค์เฉพาะ โดย ผู้เขียนต้องทำความเข้าใจว่าอะไรคือวัตถุประสงค์หลัก และวัตถุประสงค์รอง การกำหนดวัตถุประสงค์ของโครงการต้องระบุให้ชัดเจน เฉพาะเจาะจง ระบุสิ่งที่ต้องการได้รับจากการดำเนินงาน มีความสมเหตุสมผล สามารถวัดได้ สามารถปฏิบัติได้จริงและประเมินผลได้ และต้องเป็นวัตถุประสงค์ที่มีความสอดคล้องกับที่มาของโครงการ หรือหลักการและเหตุผลของโครงการนั้น ๆ ด้วย

เส้นทางวิกฤติ Critical Path มีประโยชน์อย่างไรในการบริหารโครงการ

เส้นทางวิกฤติ Critical Path มีประโยชน์อย่างไรในการบริหารโครงการถ้าหากมีเส้นทางวิกฤตหลายๆ เส้นเราจะทำอย่างไร

เส้นทางวิกฤติ (Critical Path) คือ เส้นทางที่ใช้เวลายาวที่สุด หากมีการล่าช้า ของกิจกรรมใด ในเส้นทางวิกฤต จะทำให้โครงการล่าช้าไม่เสร็จตามกำหนด ดังนั้น ถ้าผู้บริหารรู้เส้นทางวิกฤติ จะทำให้ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ในการวางแผนตัดสินใจเพื่อควบคุมโครงการ หรือเร่งรัดโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ฝ่ายบริหารสามารถประมาณการในการจัดทำงบประมาณ กำหนดการปฏิบัติงาน และวิธีการต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานเพื่อให้โครงการเสร็จตามกำหนดเวลาและบรรลุวัตถุประสงค์อย่างดี

ในกรณีที่โครงการมีเส้นทางวิกฤติหลายๆ เส้น ก่อนการเร่งรัดโครงการผู้บริหารควรพิจราณาถึงต้นทุน แรงงาน และทรัพยากรต่าง ๆ ในการเร่งรัดโครงการ ผู้บริหารควรเลือกที่จะเร่งรัดโครงการที่ได้รับผลประโยชน์จากการเร่งรัดโครงการที่มีค่าสูงกว่าต้นทุนที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น ซึ่งผลประโยชน์จากการเร่งรัดโครงการให้เสร็จเร็วขึ้น อาจอยู่ในลักษณะของเงินชดเชยหรือรางวัลที่ได้ ถ้าสามารถทำให้โครงการเสร็จเร็วกว่ากำหนด หรือการที่ไม่ต้องเสียค่าปรับเนื่องจากสามารถเร่งรัดโครงการให้แล้วเสร็จตามกำหนด หรือการลดค่าใช้จ่ายเพื่อการดำเนินการโครงการเนื่องจากโครงการเสร็จเร็วขึ้น

ให้ท่านตั้งคำถามเกี่ยวกับการบริหารโครงการใดโครงการหนึ่งให้ประสบความสำเร็จ พร้อมตัวอย่าง

คำถามที่ 4 ให้ท่านตั้งคำถามเกี่ยวกับการบริหารโครงการใดโครงการหนึ่งให้ประสบความสำเร็จ พร้อมตัวอย่าง
            การบริหารโครงการเพื่อให้บรรลุสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ นับว่าเป็นความท้าทายต่อองค์กรเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากจะต้องมีการปูพื้นฐานตั้งแต่การคิดวิเคราะห์ถึงรูปแบบของโครงการ การคัดเลือกโครงการเพื่อการดำเนินการ ไปจนกระทั่งการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ เหนืออื่นใดก็เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือนำไปสู่เป้าหมายของโครงการที่ ตั้งไว้นั่นเอง โดย เฉพาะในสภาพปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงในภาคธุรกิจต่าง ๆ ผู้ประกอบการจะต้องมีการพัฒนาแนวคิดในการจัดการและบริหารโครงการให้เป็นแบบ แผนและขั้นตอน โดยเริ่มตั้งแต่การรวบรวมข้อมูลข่าวสารของการจัดระบบเพื่อวางแผน, การสั่งงาน, การตรวจสอบ, การควบคุมการผลิต เพื่อที่จะได้มีการปรับปรุงและแก้ไขในส่วนที่บกพร่องก่อนเริ่มลงมือจริง โดยเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะใช้ในการวิเคราะห์และจัดการกับข้อมูลของโครงการก็อาศัยทั้งแนวคิดทาง ด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งมีเครื่องมือในการวิเคราะห์ที่หลากหลาย ช่วยในการตัดสินใจขององค์กรต่อโครงการ นอกจากนี้ยังต้องมีการนำเอาเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้งานในการ บริหารเพื่อให้เกิดความรวดเร็วและแม่นยำมากยิ่งขึ้น
            สำหรับ โครงการที่ตั้งเป้าไว้นั้น อาจจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายหรือล้มเหลวก็ขึ้นอยู่กับการบริหารและการ จัดการ โดยรูปแบบของโครงการนั้นก็จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขนาด, วิสัยทัศน์, เงินลงทุน และเวลาเป็นสำคัญ บางโครงการอาจลงทุนนับสิบล้านในระยะเวลาหลายปี หรือบางโครงการมีการลงทุนไม่กี่พันบาทเพียงแค่ไม่กี่วัน ก็นับว่าเป็นโครงการเช่นกัน โดยจะขอยกตัวอย่างการทำงานที่สามารถกำหนดเป็นโครงการได้ เช่น
            - การออกแบบและทดสอบเครื่องยนต์
            - การออกแบบและปลูกสร้างอาคาร
            - การบำรุงรักษาระบบคอมพิวเตอร์
            - การออกแบบและปรับโครงสร้างขององค์กร
            - การวางแผนและตรวจสอบบัญชี
            - การออกแบบบรรจุภัณฑ์
            - การจัดทัวร์ของนักท่องเที่ยว
โดยภาพรวมแล้วสิ่งสำคัญที่สามารถบ่งชี้ได้ว่าเค้าโครงของกิจการนั้นถือเป็นโครงการเราอาจพิจารณาจากสิ่งต่อไปนี้
            มีการเริ่มต้นและสิ้นสุด : อันหมายถึงการเริ่มต้นดำเนินการตามโครงการที่ตั้งไว้ ซึ่งการเริ่มต้นนั้นก็จะต้องมีการสิ้นสุดของโครงการด้วย อาจเทียบได้กับระยะเวลาในการดำเนินการตามโครงการตั้งแต่วันที่เท่าไหร่ถึง วันที่เท่าไหร่ถึงวันที่เท่าไหร่ ซึ่งถือเป็นลักษณะหนึ่งของโครงการ
            มีวงจรการดำเนินการ : ในบางครั้งโครงการอาจจะไม่มีจุดสิ้นสุดของระยะเวลาเนื่องจากจะต้องดำเนินการ ตามแผนที่วางไว้ตลอด แต่เป็นไปในลักษณะของวงจร คือ ทำซ้ำอย่างเดิม โดยส่วนมากจะหมายถึง แผนงานประจำปีที่กำหนดให้ทำซ้ำตลอดปี เช่น การตรวจซ่อมบำรุงรักษาต้องทำทุก ๆ 3 เดือน
            มีการจัดตั้งงบประมาณ : สิ่งที่จะถือว่าเค้าโครงนั้นเป็นโครงการอีกประการก็คือ การจัดตั้งงบประมาณ อันหมายถึงการกำหนดจำนวนเงินในการลงทุน หรือ ใช้จ่ายเพื่อให้เกิดการดำเนินการตามแผนหรือเค้าโครงงาน ซึ่งอาจนับได้ว่างบประมาณเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนโครงการที่สำคัญเป็นอันดับ แรกเลยทีเดียว
            มีการใช้ทรัพยากรในการทำงาน : ทรัพยากร ในการทำงานอาจได้แก่ ทรัพยากรทางด้านวัตถุดิบ ทรัพยากรทางด้านเครื่องมือ ทรัพยากรทางด้านบุคลากร ฯลฯ ซึ่งทรัพยากรต่าง ๆ เหล่านี้ต้องมีการประสานการทำงานร่วมกัน
            มีการกำหนดหน้าที่ : การกำหนดหน้าที่ซึ่งปรากฏในรูปแบบของการบริหารและจัดการกับโครงการเพื่อให้เกิดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในแต่ละโครงการ
            มีการกำหนดทีมทำงาน : ทีม ทำงานถือเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงต่อเค้าโครงการ ดำเนินการ ซึ่งแต่ละโครงการที่จัดตั้งขึ้นมาก็จะต้องมีทีมที่มารับผิดชอบในการทำงาน หากธุรกิจอุตสาหกรรมใดมีทีมทำงานที่ดีก็จะทำให้โครงการนั้นสามารถที่จะบรรลุ เป้าหมายได้
            ควรบริหารโครงการอย่างไรดี เพื่อให้ บรรลุเป้าหมายของโครงการที่ตั้งขึ้น เราจะต้องเรียนรู้ถึงวิธีการจัดการและการบริหารโครงการ โดยแนวทางของการบริหารนั้นจะมีหลักพื้นฐานของการบริหาร คือ การสร้างความพึงพอใจและวิเคราะห์ถึงความต้องการสูงสุดของผู้ซื้อ ภายใต้ขอบเขตและเป้าหมายของโครงการ ซึ่งวิธีการที่จะทำให้โครงการนั้นสนองตอบต่อผู้ซื้อ ตรงเป้าหมายของโครงการ ก็จะต้องอาศัยวิธีการที่หลากหลายในการบริหาร เราจะเรียกวิธีการบริหารที่หลากหลายนี้ว่า วงจรชีวิตของโครงการ (Project Life Cycle) โดยเทคนิคที่ได้รับความนิยมในการบริหารธุรกิจอุตสาหกรรมมากที่สุดได้แก่ วิธีการวิเคราะห์เครือข่ายงาน วิธีการคืนทุน วิธีการควบคุมองค์ประกอบ โดย แนวทางของวิธีการต่าง ๆ จะเป็นการแสดงแนวคิดรูปแบบของการบริหารในแบบต่าง ๆ เช่น การบริหารตามแบบโครงการ การบริหารแบบทั่วไป การบริหารด้านเทคนิค
            การบริหารด้วยโครงการ สำหรับ วิธีการบริหารด้วยโครงการเป็นวิธีที่ใช้การศึกษาจากโครงการที่ประสบความ สำเร็จ นำแนวทางเหล่านั้นมาใช้หรือพัฒนาต่อ ซึ่งลักษณะของโครงการส่วนใหญ่จะเป็นโครงการที่มีการวิเคราะห์หรือใช้เวลาใน การศึกษาที่ยาวนาน และส่งผลที่ตรงตามเป้าหมายทุกครั้ง ยกตัวอย่างโครงการ เช่น ทางด้านวิศวกรรม, ยานอวกาศ, การก่อสร้าง หรือ โครงการอื่น ๆ ที่ประสบความสำเร็จและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป โดยส่วนใหญ่การบริหารด้วยโครงการนี้จะใช้วิธีการซื้อเทคโนโลยีเหล่านั้นมา เป็นแนวทาง หรือดำเนินการทันที เช่น ในการซื้อเวชภัณฑ์ต่าง ๆ ของโรงพยาบาล จะมีการจัดโครงการจัดซื้อ โดยที่โรงพยาบาลไม่ต้องทำการตั้งงบประมาณผลิตยาเหล่านั้นขึ้นมา เนื่องจากมีหน่วยงานที่มีความชำนาญอยู่แล้ว
            การบริหารแบบทั่วไป การ บริหารแบบทั่วไป เป็นรูปแบบที่กำหนดแนวทางสำหรับการบริหารอย่างกว้าง ๆ เพื่อที่จะให้ครอบคลุมการทำงานขององค์กรให้มากที่สุด โดยส่วนใหญ่เป็นการจัดตั้งและจัดการในเรื่องต่อไปนี้
            - ผู้นำ
            - ผู้ร่วมงาน
            - ทีมทำงาน
            - การติดต่อ
            - การจัดระบบ
            - การวางแผน
            - การอบรม
            - การประสานงาน
            - การจัดเตรียมเครื่องมือ
            - การตรวจสอบ
            - การควบคุม
            โดยภาพรวมของการบริหารแบบทั่วไป ก็จะครอบคลุมในทุก ๆ ส่วนขององค์กรธุรกิจ ดังนั้นสิ่งจำเป็นที่จะต้องนำมาใช้ในการบริหารแบบทั่วไป ได้แก่ .
            - การบริหารทรัพยากรมนุษย์
            - การขายและการตลาด
            - การบัญชีและเงินเดือน
            - การจัดทำสัญญา ข้อตกลง
            - การใช้งานด้วยระบบคอมพิวเตอร์
            ซึ่งการที่จะบริหารโครงการให้ประสบความสำเร็จไม่จำเป็นว่าเราจะต้องมีความสามารถ ในระดับผู้เชี่ยวชาญ เพราะการเป็นผู้เชี่ยวชายก็ไม่อาจจะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ หากขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้งานหรือโครงการนั้นประสบความสำเร็จ
            การบริหารด้านเทคนิค เทคนิค หรือวิธีการถือเป็นรูปแบบหลักที่ใช้ในการบริหารเพื่อให้เกิดความสำเร็จใน โครงการนั้น ๆ อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยิ่งธุรกิจใดมีการพัฒนาเทคนิคที่เหนือคู่แข่งมากเพียงใด ธุรกิจนั้น ๆ ก็จะประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น ดังนั้นในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมจึงจำเป็นต้องมีการบริหารทางด้านเทคนิคอยู่ เสมอ ยิ่งผู้บริหารด้านเทคนิคมีความเชี่ยวชาญมากเพียงใดธุรกิจก็จะประสบความ สำเร็จมากเท่านั้น
            สภาพแวดล้อมของโครงการ เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลโดยตรงต่อโครงการ และการบริหารโครงการ เนื่องจากว่าโครงการไม่ได้ผุดขึ้นมาภายใต้สภาพสุญญากาศ แต่โครงการถูกสร้างขึ้นมาภายใต้สภาพแวดล้อมที่ต้องพิจารณาถึงองค์ประกอบต่อ ไปนี้
            - ผู้ร่วมลงทุนหลัก
            - ผู้สนับสนุน
            - โครงสร้างของบริษัท
            - ความต้องการของตลาด
            - คู่ต่อสู้ทางธุรกิจ
            - เทคโนโลยีใหม่ ๆ
            - กฎเกณฑ์ข้อบังคับ
            - สภาพเศรษฐศาสตร์
            เราจะเห็นว่าสภาพแวดล้อมต่าง ๆ นี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อโครงการ ดังนั้นหากจะมีการจัดการหรือบริหารโครงการควรที่จะต้องมีการพิจารณาถึงสภาพ แวดล้อมเหล่านี้เป็นอันดับต้น ๆ
ด้วยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์ ทำให้เราไม่ต้องลำบากต่อการคิดวางแผนในการจัดการบริหารให้ยุ่งยากเหมือนก่อน เนื่องจากปัจจุบันได้มีผู้ที่คิดพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้ในการบริหารโครงการ ขึ้นมาใช้เพียงแค่เรามีความรู้ในด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์และเรียนรู้ โปรแกรมที่ใช้ในการบริหารโครงการ ก็สามารถที่จะทราบได้ทันทีว่า โครงการที่กำหนดไว้สามารถที่จะบรรลุเป้าหมายหรือไม่
            สำหรับโปรแกรมในด้านการบริหารโครงการ นั้นก็มีให้เราได้เลือกใช้งานกันอย่างหลาก หลาย นับตั้งแต่ช่วยในการวางแผน การควบคุมโครงการ หากต้องการทดสอบแผนของโครงการจากกระทบต่าง ๆ ก็สามารถที่จะทำได้อย่างรวดเร็ว โดยที่เราไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ถึงวิธีการคำนวณในทางเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากมีความยุ่งยากในการเรียนรู้พอสมควร แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ใช่สิ่งจำเป็น เพราะการเรียนรู้ในวิธีการก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจถึงหลักการบริหาร โครงการได้มากยิ่งขึ้น
            นอกจากนี้เรายังได้รับประโยชน์จากการใช้งานคอมพิวเตอร์ เนื่องจากคอมพิวเตอร์มีความรวดเร็วในการจัดงานด้านเอกสาร การจัดเก็บข้อมูล ใช้ในการติดต่อสื่อสาร นำเสนอข้อมูลต่อลูกค้า หรือเป็นผู้ช่วยในการจัดตารางนัดหมาย เป็นต้น ซึ่งความรวดเร็วและแม่นยำจากการใช้งานคอมพิวเตอร์นี้จะส่งผลให้ธุรกิจ อุตสาหกรรมสามารถแซงหน้าคู่ต่อสู้ทางธุรกิจได้
            สิ่งที่เราจะได้รับจากการบริหารโครงการก็คือผลกำไร ซึ่งเกิดจากการพัฒนาและวางแผนโดยดำเนินตามแนวทางที่ตั้งไว้ได้สำเร็จ ซึ่งธุรกิจอุตสาหกรรมต่าง ๆ จะได้รับผลกำไรเหล่านี้ในรูปแบบต่าง ๆ กันตามแต่เป้าหมายที่กำหนดไว้ แต่โดยส่วนใหญ่ก็จะออกมาในรูปแบบของผลกำไรจากการลงทุนซึ่งก็คือเม็ดเงินที่ ได้รับกลับมานั่นเอง ดังนั้นธุรกิจจะได้รับกำไรมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับการวางแผนและควบคุมระบบ
            เมื่อเราทราบว่าผลกำไรจากการบริหารโครงการก็คือเงิน เพราะฉะนั้นในการวางแผนและควบคุมระบบ จำเป็นต้องมีการเพิ่มการบริหารต้นทุนเข้าไปด้วย เพราะถือเป็นสิ่งที่เป็นตัวแปรสำคัญต่อการบริหารโครงการโดยตรง สำหรับข้อมูลในการบริหารต้นทุนนั้นผู้ประกอบการจะต้องทราบถึงรายละเอียด คร่าว ๆ ดังต่อไปนี้ .
            การประเมินราคา : การประเมินราคาถือเป็นหลักพื้นฐานสำหรับการวางแผนโครงการ หากเราไม่สามารถประเมินราคาของต้นทุนที่จะใช้ไปได้ เราก็ไม่สามารถที่จะจัดการบริหารได้เช่นกัน โดยเฉพาะโครงการที่มีระยะเวลาในดารดำเนินงานที่ยาวนาน หากไม่มีการประเมินราคาของต้นทุนที่จะใช้ไป หรือ ผลกำไรที่จะได้รับกลับมา อาจต้องเกิดการขาดทุนได้เนื่องจากต้องสูญเสียเงินไปในการลงทุนจากการที่ไม่ ได้มีการประเมินราคาไว้ตั้งแต่ต้น
            การคำนวณต้นทุน : ในการคำนวณเพื่อวิเคราะห์ต้นทุนสำหับโครงการนั้น ก็ถือเป็นรายละเอียดสำคัญเนื่องจากเราไม่สามารถที่จะประเมินราคาขึ้นมาอย่าง ลอย ๆ ได้ จำเป็นต้องอาศัยหลักการคำนวณทางเศรษฐศาสตร์เป็นสำคัญ ซึ่งจะช่วยให้เรารู้ถึงจำนวนเงินที่ต้องลงทุนจริง และตัดสินใจที่จะลงทุนได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
            การรวมโครงการ : ในโครงการที่เป็นรูปแบบเดียวกันเพื่อเป็นการลดต้นทุนจะต้องมีการรวมเข้าไว้ เป็นโครงการเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถนำเงินไปลงทุนในโครงการอื่นได้อีก
การรายงานผล : ข้อมูลหรือ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการวางแผนและควบคุมระบบจะต้องมีการจัดทำรายงานที่ ละเอียดแยกแยะหัวข้อปลีกย่อยอย่างชัดเจน เพื่อที่เราจะได้กำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป
            การประเมินระบบ : ในระยะเวลาที่มีการดำเนินการตามแผนงานนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการประเมินระบบเพื่อจะได้ทราบถึงการตอบรับหรือ ปัญหาที่เกิดจากโครงการ ควรมีกำหนดระยะการประเมินที่ต่อเนื่องกันไป เช่น ทุกเดือน ทุกสัปดาห์ ตลอดช่วงของการดำเนินงาน
            แนวโน้มธุรกิจ : โครงการที่จะประสบผลสำเร็จนั้นจะต้องมีการติดตามแนวโน้มของธุรกิจไปด้วยเสมอ เพื่อให้ทันยุคทันเหตุการณ์ แม้ว่าลักษณะของข้อมูลแบบนี้อาจจะเปลี่ยนแปลงไปตามยุคตามสมัยแต่ก็ถือเป็นอีกข้อมูลที่จะช่วยในการบริหารต้นทุนได้ดี
            วิธีการปฏิบัติ : เราจะนำการวางแผนและการควบคุมระบบไปใช้ในโครงการที่ต้องการพัฒนาวิธีการ ปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดความพิถีพิถันและตรงตามความต้องการของโครงการ
เมื่อเราทราบถึงลักษณะตลอดจนสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ของการบริหารโครงการ เราก็จะเห็นว่าเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งใน ทุก ๆ ด้าน เพราะธุรกิจจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวก็ขึ้นอยู่กับการบริหาร ดังนั้นผู้ที่จะมาอยู่ในตำแหน่งที่จะมีหน้าที่ในการบริหารโครงการได้นั้น จะต้องมีความสามารถเฉพาะตัวหลายประการ ยกตัวอย่างเช่น
            - มีความสามารถในการเป็นผู้นำ
            - มีความสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
            - มีความสามารถในการคัดสรรโครงการ
            - มีความคล่องแคล่วในการทำงาน
            - มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
            - มีความสามารถในด้านการเจรจาต่อรองและจูงใจ
            - มีความเข้าใจในสภาพแวดล้อมของแต่ละโครงการ
            - มีความสามารถในด้านการตรวจสอบและควบคุม
            - มีความสามารถในการบริหารเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป
            - มีความสามารถทำให้ลูกค้าพึงพอใจ
            จากแนวคิดและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมด ถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่ผู้ประกอบการในภาคธุรกิจอุตสาหกรรมจำเป็นที่จะต้อง รู้และเข้าใจอย่างถ่องแท้ เพราะถึงแม้ธุรกิจจะมีเงินทุนมากเพียงใด แต่ถ้าขาดการบริหารที่ดีและมีประสิทธิภาพ ก็อาจจะพบกับคำว่าขาดทุนหรือล้มเหลวได้ สำหรับการบริหารโครงการนี้ยังมีกระบวนการหรือแนวคิดที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ อีกหลายๆ ประการซึ่งสามารถที่จะเลือกนำไปใช้ให้เหมาะสมกับโครงการได้

ถ้าหากว่าผลการประเมินโครงการออกมาแล้วไม่ดี โครงการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ท่านจะทำอย่างไร

คำถามที่ 3 ถ้าหากว่าผลการประเมินโครงการออกมาแล้วไม่ดี โครงการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ท่านจะทำอย่างไร
             ถ้าการประเมินผลโครงการพบว่า โครงการไม่ประสบความสำเร็จ กระบวนการประเมินผลจะยังไม่เสร็จสิ้นลงเพียงแค่การบรรยายสิ่งที่เกิดขึ้นเท่านั้น แต่ต้องมีการศึกษาให้เข้าใจถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความล้มเหลวนั้นด้วยว่าคืออะไร และเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น อย่างน้อยที่สุดต้องหาคำตอบเพิ่มเติมใน 3 ประเด็นคือ
             1. วัตถุประสงค์ของโครงการมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติหรือไม่ บางโครงการวัตถุประสงค์ถูกกำหนดไว้สำหรับพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งอาจไม่เหมาะสมและ/หรือไม่สามารถปฏิบัติได้ในพื้นที่บางแห่ง กรณีนี้ผู้บริหารโครงการอาจต้องตรวจสอบและกำหนดพื้นที่โครงการเสียใหม่ เพื่อเพิ่มโอกาสความเป็นไปได้ที่จะบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
             2. ปัจจัยนำเข้าหรือทรัพยากรของโครงการเพียงพอ ที่จะทำให้บังเกิดผลตามวัตถุประสงค์หรือไม่ โครงการบางโครงการกำหนดวัตถุประสงค์ไว้กว้างขวาง แต่สนับสนุนงบประมาณน้อยมาก จนไม่เพียงพอที่จะดำเนินกิจกรรมให้บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการได้ กรณีนี้ ผู้บริหารโครงการอาจต้องลดระดับวัตถุประสงค์ที่ต้องการลง หรือขยายเวลาของโครงการออกไป หรือเพิ่มงบประมาณให้กับกิจกรรมบางกิจกรรมในโครงการ หรือเชื่อมกิจกรรมของโครงการนี้เข้ากับกิจกรรมในโครงการอื่น เพื่อให้ได้ใช้ทรัพยากรบางอย่างร่วมกัน
             3. กิจกรรมของโครงการเหมาะสมที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือไม่ โดยทั่วไปการประเมินผลโครงการจะศึกษาว่ากิจกรรมได้ดำเนินการไปด้วยดีเพียงใด แต่บางโครงการผู้ปฏิบัติงานในโครงการไม่ได้ทำในสิ่งที่กำหนดไว้ให้ทำในโครงการ แม้ว่ากิจกรรมที่ทำจริง ๆ จะทำได้ดีเพียงใดก็อาจส่งผลให้โครงการไม่บรรลุผลสำเร็จได้ เพราะทรัพยากรที่จัดสรรไว้เหมาะสมสำหรับทำกิจกรรมที่กำหนด ไว้ ในกรณีนี้ผู้บริหารโครงการต้องศึกษารายงานผลการประเมินว่า เหตุใดผู้ปฏิบัติจึงไม่ทำกิจกรรมที่กำหนดไว้ แต่ตัดสินใจไปทำกิจกรรมอย่างอื่นแทน มีข้อจำกัดอะไรหรือไม่ที่ทำให้กิจกรรมที่กำหนดไว้ไม่สามารถดำเนินการได้ในพื้นที่ดังกล่าว แล้วพิจารณาปรับปรุงกิจกรรมที่กำหนดให้มีความเหมาะสมต่อไป

การประเมินผลโครงการด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ จะประเมินผลโครงการอย่างไร

คำถามที่ 2 การประเมินผลโครงการด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ จะประเมินผลโครงการอย่างไร
          การประเมินผลโครงการเป็นกระบวนการที่ต้องมีการดำเนินงานอย่างมีระบบ
และขั้นตอน มีความสอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมของโครงการ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะต้องมีความสอดคล้อง และมีความสมเหตุสมผลกันและกัน เช่น การกำหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินผล การวัดผล โครงการ การสรุปผลการประเมินผล เป็นต้น

สำหรับขั้นตอนในการประเมินผลโครงการ มีขั้นตอนที่สอดคล้องกัน 7 ขั้นตอน ดังนี้

          1. การกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับการประเมินผล ในการกำหนดวัตถุประสงค์สำหรับ การประเมินผล มีปัจจัยที่ผู้ประเมินผลจะต้องให้ความตระหนัก คือ วัตถุประสงค์ของการประเมินผล ที่ไม่จำเป็นที่จะต้องเหมือนกับวัตถุประสงค์ของโครงการเสมอไป แต่ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

          2. การเลือกวัตถุประสงค์ของโครงการที่ต้องการจะวัด ในการเลือกวัตถุประสงค์ของโครงการ ที่ต้องการจะวัดหรือประเมินผล ผู้ประเมินผลจะต้องตระหนักว่าวัตถุประสงค์ของโครงการบาง วัตถุประสงค์ยังอาจวัดไม่ได้ในช่วงเวลาที่ทำการประเมินผล เนื่องจากเป็นวัตถุประสงค์ระยะยาว ใช้งบประมาณการประเมินที่สูงเกินไปหรือมีความซับซ้อนของวัตถุประสงค์ เป็นต้น

             3. การเลือกอุปกรณ์ เครื่องมือและกระบวนการ ผู้ประเมินผลโครงการจะต้องทำการ ตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ และกระบวนการในการกำหนดเนื้อหาสาระของสิ่งที่ ต้องการจะวัด เช่น แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสุ่มตัวอย่าง เป็นต้น

          4. การเลือกตัวอย่าง เป็นกำหนดตัวแทนของประชากรเป้าหมายเพื่อการสุ่มตัวอย่างที่ ต้องการศึกษา ผู้ประเมินผลจะต้องมั่นใจว่ากลุ่มที่ใช้ควบคุมหรือเปรียบเทียบนั้นมีความเหมาะสมแล้ว 237

          5. การกำหนดการวัด และตารางเวลาการสังเกต เป็นการกำหนดการวัดผลทั้งในช่วงก่อน ดำเนินโครงการเพื่อกำหนดเป็นเกณฑ์การประเมินเบื้องต้นและทำการวัดหลังจากที่ดำเนินโครงการ แล้วเสร็จเพื่อสามารถนำผลที่เกิดขึ้นมาเปรียบเทียบกัน สิ่งสำคัญที่ผู้ประเมินผลตระหนัก คือ การเลือกเวลาที่เหมาะสมในการวัดผล จำนวนครั้งในการวัดผล เป็นต้น

          6. การเลือกเทคนิควิเคราะห์ ในการเลือกเทคนิควิเคราะห์นี้ ผู้ประเมินผลจะทำการกำหนด สมมติฐานจากโครงการเพื่อการวัดขึ้นมาก่อน จากนั้นจึงทำการหาเทคนิค เช่น สถิติต่างๆเพื่อนำมาใช้ ในการวิเคราะห์ที่มีความเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงของข้อมูลที่มีอยู่

          7. การหาข้อสรุปและเสนอแนะ ผู้ประเมินผลจะทำการสรุปและให้ข้อเสนอแนะหลังจาก การประเมินผลแล้ว ซึ่งผู้ประเมินควรให้การสรุปและให้ข้อเสนอแนะที่ระมัดระวังเพื่อป้องกัน ความเข้าใจผิดที่เกิดจากการที่ผู้อื่นตีความในทางที่เป็นประโยชน์ต่อเจ้าของโครงการ และอาจจะ ให้ข้อเสนอแนะให้มีการดำเนินโครงการที่ต้องใช้งบประมาณที่เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการตีความที่แตกต่าง ออกไปจากการให้ข้อเสนอแนะของผู้ประเมิน

          จากขั้นตอนในการประเมินผลโครงการข้างต้นนั้น สิ่งสำคัญคือโครงสร้างของการประเมินผล โครงการควรที่จะแสวงหาเพื่อให้บุคคลทั้งจากภายใน และภายนอกโครงการได้เข้ามามีส่วนร่วม ในการกำหนดเกณฑ์ในการประเมินผลด้วยเพื่อให้เกิดความยุติธรรม ความเที่ยงตรงของการประเมิน การได้รับความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ ในการประเมิน เช่น เกณฑ์การวัดผล เทคนิคและขอบเขต ในการวัดผล เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ที่มีหน้าที่ในการประเมินผลจะต้องคำนึงถึงกระบวนการใน การประเมินผลกับระดับโครงสร้างทางบทบาท อำนาจ หน้าที่ของผู้บริหารในองค์การ ปัญหาเกี่ยวกับ การใช้ผลการประเมินผลกับตำแหน่งหน้าที่ของผู้ใช้ผลการประเมินในโครงสร้างทางอำนาจ หน้าที่ ขององค์การอีกด้วย ดังนั้นขั้นตอน ในการประเมินผลจึงมีความสำคัญต่อการดำเนินโครงการนั่นเอง

ทำไมจะต้องมีการประเมินผลโครงการ

คำถามที่ 1 ทำไมจะต้องมีการประเมินผลโครงการ

สาเหตุที่ต้องทำการประเมินผลโครงการ เนื่องจากผู้บริหารต้องการทราบว่าผลที่ได้รับจาก การดำเนินโครงการไปแล้วนั้นประสบความสำเร็จตามที่มุ่งหวังหรือไม่ มีปัญหาอุปสรรคอะไรตอบสนองความต้องการได้เพียงใด ควรปรับปรุงแล้วดำเนินการต่อไปหรือควรยุติโครงการ ซึ่งเท่ากับเป็นการตัดสินคุณค่าของสิ่งที่ดำเนินการไปแล้ว
นอกจากนี้การประเมินผลจะมีผลโดยตรงต่อความสำเร็จของแผนงานโครงการต่างๆ และยังส่งผลทางอ้อมหากการประเมินผลมีคุณภาพก็จะทำให้การบริหารงานตามแผน ที่กำหนดมีคุณภาพไปด้วย แต่ถ้าการประเมินผลขาดคุณภาพแล้วยังสามารถก่อให้เกิดผลเสียต่อแผนงานที่กำหนดไว้ได้อีกด้วย

วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

ระบบคลังข้อสอบ และการสอบออนไลน์ กรณีศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี

1. ชื่อโครงการ
ระบบคลังข้อสอบ และการสอบออนไลน์
กรณีศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี

2. หลักการและเหตุผล
เนื่องด้วยในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น การให้บริการด้านการศึกษาในปัจจุบันก็จำเป็นที่จะต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่ออำนวยความสะดวก
ระบบคลังข้อสอบ และการสอบออนไลน์ เป็นอีกระบบหนึ่งที่ประยุกต์เอาเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในด้านการวัดผลการศึกษาให้มีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องเที่ยงตรง อีกทั้งยังเป็นวิธีการในการพัฒนาตัวข้อสอบให้ได้มาตรฐาน จัดเก็บในรูปแบบของฐานข้อมูล แบ่งหมวดหมู่ของแต่ละวิชา แต่ละจุดประสงค์ และยังสามารถแทรกสื่อต่างๆ เช่น ภาพ เสียง และวีดีโอ ลงในข้อสอบได้อีกด้วย เป็นการ มุ่งพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดทำเว็บและเข้าถึงฐานข้อมูล ระบบจะอำนวยความสะดวกในการเพิ่ม แก้ไขและลบข้อมูล รวมถึงการส่งผ่านข้อมูลการทำข้อสอบของนักศึกษา เข้าไปประมวลผลผ่าน เครือข่าย ซึ่งสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ ทั้งในแง่เวลา และทรัพยากรอื่นๆ อาทิ เช่น กระดาษ ค่าจัดพิมพ์ แรงงาน หรือแม้แต่พื้นที่จัดเก็บ นอกจากนี้ยังสามารถสรุปผลคะแนนการสอบของแต่ละวิชา ออกมาได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งทำให้ลดขั้นตอนการทำงานลงได้ ทำให้เกิดความประหยัด รวดเร็วและสะดวก ในการออกข้อสอบ จัดเก็บข้อสอบ เข้าสอบและวัดผลการสอบมากยิ่งขึ้น
เนื่องจากในการออกข้อสอบในแต่ละรายวิชาต่างๆ อาจารย์จะเป็นผู้ออกข้อสอบขึ้นใหม่ในทุกๆ ภาคการศึกษา ซึ่งในการออกข้อสอบแบบเดิมนั้น อาจารย์จะเป็นผู้ออกข้อสอบโดยพิมพ์ข้อสอบและสร้างรูปแบบข้อสอบด้วยตนเอง เมื่อต้องการออกข้อสอบหลายๆ บทเรียนโดยให้มีจำนวนข้อในแต่ละบทเรียนที่เหมาะสมกับจำนวนข้อสอบที่ต้องการออกนั้น ซึ่งบางเนื้อหาที่เคยออกข้อสอบในปีก่อนนั้นยังสามารถที่จะนำมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับปีปัจจุบันได้ จึงเป็นการคาดคะเนได้ยากหากอาจารย์ได้พิมพ์ข้อสอบบทแรกๆ เกินสัดส่วนจำนวนข้อไปแล้ว ทำให้อาจารย์ต้องมาลบข้อสอบเดิมแล้วมาจัดการกับข้อสอบบทหลังเพื่อให้เฉลี่ยจำนวนข้อสอบในแต่ละบทให้เหมาะสมหรือต้องทำการจัดเรียงเลขลำดับข้อสอบใหม่ หรือถ้าต้องการสร้างข้อสอบโดยมีทั้งข้อเก่าและข้อใหม่ที่ต้องการเพิ่มเข้าไปทำให้จัดการลำบาก
ระบบคลังข้อสอบ และการสอบออนไลน์ จะสามารถแก้ปัญหาการออกข้อสอบและการสอบในแบบเดิม โดยจะสามารถจัดการกับการออกข้อสอบและการสอบผ่านทางคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อให้อาจารย์สามารถเลือกรูปแบบในการจัดทำข้อสอบและเลือกข้อสอบมาสร้างใหม่ได้ตามความต้องการ สามารถจัดการข้อสอบและการสอบในรูปแบบออนไลน์ได้ ทำให้เพิ่มความปลอดภัยของไฟล์ข้อสอบได้มากยิ่งขึ้น ระบบนี้จะอำนวยความสะดวกให้แก่อาจารย์ในการออกข้อสอบแบบออนไลน์ ทำให้คุณภาพของการออกข้อสอบมีประสิทธิภาพมากขึ้น และสามารถทำให้การตรวจเฉลยข้อสอบได้รวดเร็วและถูกต้อง อีกทั้งอาจารย์สามารถให้นักศึกษาสอบแบบออนไลน์ได้ เมื่อทำการสอบระบบจะทำการจับเวลาในการสอบและประมวลผลคะแนนได้ทันทีเมื่อสอบเสร็จ ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการสอบทั้งนักศึกษาและอาจารย์ได้ และยังช่วยลดการใช้กระดาษ เนื่องจากสอบผ่านคอมพิวเตอร์ไม่ต้องพิมพ์ข้อสอบออกมา และนักศึกษายังสามารถดูผลสอบผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้

3. วัตถุประสงค์
3.1 เพื่อพัฒนาระบบคลังข้อสอบ และการสอบออนไลน์ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3.2 เพื่อปรับปรุงการดำเนินงานการออกข้อสอบแบบเดิม ให้มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ
ง่ายต่อการค้นหา และลดการใช้ทรัพยากรต่างๆ โดยเฉพาะกระดาษ
3.3 เพื่อช่วยลดภาระของอาจารย์ผู้สอน
3.4 เพื่อลดการทุจริตในการทำข้อสอบ เนื่องจากระบบสามารถสุ่มข้อสอบได้ ทั้งสุ่ม
แบบซ้ำ หรือสุ่มแบบ ไม่ซ้ำ
3.5 เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ในด้านการเรียนการสอนและการประเมินผล
3.6 เพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนการสอนให้มากขึ้น

4. เป้าหมาย
เพื่อจัดให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพ มีความสะดวกรวดเร็ว มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ ลดภาระของอาจารย์ผู้สอน เปลี่ยนการออกข้อสอบ และการจัดสอบ จากกระดาษมาเป็น ระบบคลังข้อสอบ และการสอบออนไลน์ ผ่านทางเครือข่าย เพื่อการประมวลผลข้อมูลที่ถูกต้องและเที่ยงตรง

5. วิธีดำเนินงานหรือแผนงานย่อยหรือกิจกรรมย่อย
5.1 นำเสนอหัวข้อต่ออาจารย์ที่ปรึกษา (ศึกษาทฤษฏีและเทคโนโลยีที่ใช้)
5.1.1 นำเสนอหัวข้อเรื่องระบบคลังข้อสอบ และการสอบออนไลน์
5.2 ศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูล
5.2.1 ศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เช่น
รูปแบบและหลักการการสร้างข้อสอบแบบต่าง ๆ
5.2.2 จดบันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
5.2.3 รวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและทำการจัดเก็บข้อมูล
5.3 วิเคราะห์ข้อมูล
5.3.1 ศึกษาปัญหาและทำความเข้าใจกับระบบเดิม
5.3.2 นำข้อมูลที่รวบรวมแล้วมาทำการวิเคราะห์
5.3.3 สร้างแบบจำลอง Logical Model ประกอบ ด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล(Data Flow
Diagram) คำอธิบายการประมวลผลข้อมูล(Process Description) แบบจำลองข้อมูล
(ER-diagram)
5.3.4 สร้างพจนานุกรมฐานข้อมูล (Data Dictionary)
5.3.5 ศึกษาโปรแกรมที่จะใช้งาน
5.3.6 นำผลลัพธ์ที่ได้จากการวิเคราะห์มาออกแบบระบบ
5.4 ออกแบบระบบ
5.4.1 ออกแบบฐานข้อมูล (Database Design)
5.4.2 ออกแบบหน้าจอการใช้งาน (User Interface)
5.4.3 ออกแบบรายงาน(Output Design)
5.5 พัฒนาระบบ
5.5.1 เขียนโปรแกรมพัฒนาระบบ
5.6 ทดสอบและปรับปรุงแก้ไขระบบ
5.6.1 ทดสอบระบบ
5.6.2 ปรับปรุงแก้ไขระบบ
5.6.3 ติดตั้งระบบ
5.7 นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ
5.8 จัดทำเอกสาร
5.8.1 คู่มือสำหรับผู้ใช้งานระบบ
5.8.2 คู่มือติดตั้งระบบ
5.8.3 คู่มือประกอบการใช้งานระบบ

6. ระยะเวลาการดำเนินการ



7. สถานที่หรือพื้นที่ดำเนินการ
วิทยาลัยอาชีวศึกษาอุบลราชธานี

8. งบประมาณ

9. ผู้รับผิดชอบโครงการหรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ
นายภัทรชนม์ ไชยกุล
นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี


10. การติดตามและประเมินผล
10.1 ผู้ใช้งานระบบ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ความเข้าใจในการใช้งาน ระบบคลังข้อสอบ
และการสอบออนไลน์ ในระดับดี
10.2 ผู้ใช้งานระบบ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความพึงพอใจในการใช้งาน ระบบคลังข้อสอบ
และการสอบออนไลน์ในระดับดี

11. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
11.1 สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการศึกษา จากระบบคลังข้อสอบ และการสอบออนไลน์
11.2 มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ สามารถค้นหาข้อมูลได้ง่าย และรวดเร็ว
11.3 ลดภาระของอาจารย์ผู้สอน
11.4 สามารถลดการทุจริตในการสอบ
11.5 การประเมินผลเป็นไปอย่างรวดเร็ว และได้ข้อมูลที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

ทำไมเราจะต้องบริหารโครงการ

ทำไมเราจะต้องบริหารโครงการ แล้วโครงการมีความสำคัญอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการ ICT เราให้ความสำคัญเพราะอะไร


การบริหารโครงการ (project management) เป็นการวางแผนและการบริหารทรัพยากรใดๆทั้งตัวมนุษย์และในเรื่องของงาน โดยคาดคะเนทิศทางของโครงการตั้งแต่ วันเริ่มต้นจนถึงวันเสร็จงาน รวมถึงการกำหนดช่วงเวลาในการปฏิบัติงานที่จะทำให้งานออกมามีประสิทธิภาพ และสามารถที่จะประมาณราคาของโครงการได้
การบริหารโครงการมีหัวใจสำคัญคือการบริหารความสัมพันธ์ระหว่าง เวลา ราคา และคุณภาพ ในทรัพยากรที่กำหนดเพื่อให้ได้เป้าหมายตามต้องการ การบริหารโครงการเป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้าง และการพัฒนาซอฟต์แวร์
ขั้นตอนและกระบวนการบริหารโครงการ
1.การกำหนดโครงการ
2.การจัดเตรียมโครงการ
3.การประเมินโครงการและการอนุมัติโครงการ
4.การนำโครงการไปปฏิบัติ
5.การประเมินผลโครงการ
โดยเฉพาะการนำการบริหารโครงการไปใช้กับโครงการด้าน ICT เพราะ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันทุกวันนี้อย่างยิ่ง เมื่อมีการนำการบริหารโครงการมาใช้ จึงทำให้โครงการด้าน ICT มีประสิทธิภาพในด้าน เวลา ราคา และคุณภาพมากขึ้น